DEMO DAY นำเสนอผลงานและแข่งขันต้นแบบผลิตภัณฑ์
ภายใต้โครงการ Smart Natural Rubber Hackathon
13 พฤศจิกายน 2565 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน DEMO DAY นำเสนอผลงานและแข่งขันต้นแบบผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการ Smart Natural Rubber Hackathon ขึ้น ณ ห้องไบร์ทตัน โรงแรมครัสตัลหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คำรณ พิทักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวเปิดโครงการ ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน และ คุณสุรชัย บุญวรรโณ ผู้อำนวยการ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เปิดโอกาสให้นักคิดและนักประดิษฐ์ในระดับอุดมศึกษาได้เข้าร่วมการแข่งขันระดมไอเดีย เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยี กระบวนการ ดิจิทัลในการปรับปรุงระบบการส่งเสริมและการผลิตวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ การแปรรูปยางพาราต่างๆ ลดการใช้แรงงานและพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่สามารถนำไปทดลองและต่อยอดงานของการยางแห่งประเทศไทยได้
ซึ่งได้รับเกียรติจาก คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับยางพาราเป็นอย่างดี มาพิจารณาตัดสิน และให้คำแนะนำแก่ทีมที่เข้าแข่งขันในวันนี้ ดังนี้
- ดร.วราภรณ์ ขจรไชยกูล ประธานกรรมการบริหารงานวิจัย การยางแห่งประเทศไทย
- ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย
- ดร.วิญญู โครมกระโทก หัวหน้ากองวิจัยเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย
- คุณกิตติชัย เหลี่ยมวานิช หัวหน้ากองส่งเสริมเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร การยางแห่งประเทศไทย
- รองศาสตราจารย์ ดร. พฤทธิกร สมิตไมตรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปรมินทร์ เณรานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และขอแสดงความยินดีกับ 5 ทีมที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ประกอบด้วย
🏆 รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท
ทีม: Rubber UBU Gen14
ผลิตภัณฑ์: ถ้วย cup graft ถ้วยรองรับน้ำยางสด ทำให้ ยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพ
สมาชิกในทีม
นายณรงค์เดช ดาผา
นายธนากร รูปสี
นายอมรศักดิ์ สืบสิน
นางสาวชไมพร สุริยา
นางสาวสกุลทิพย์ อยู่สอน
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ชัยวุฒิ วัดจัง
จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
🏆 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท
ทีม: Agriculture Innovative CDTI
ผลิตภัณฑ์: โรงตากยางพาราระบบควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะ
สมาชิกในทีม
นายณัฐพล พลจันทึก
นายกฤษฏา ศรีประเสริฐ
นายภณ โมรินทร์
นายชนกันต์ ชุมทัพ
นายฐิติภัทร์ ปรีดีดิลก
อาจารย์ที่ปรึกษา: คุณครูปัณฑิตา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
จากโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ และสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
🏆 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท
ทีม: The winning 4
ผลิตภัณฑ์: เครื่องมือฉีดพ่นสารเคมี ที่มีระดับความสูง มากกว่า 20 เมตร
สมาชิกในทีม:
นางสาวธัญญารัตน์ นราอาสน์
นายกษิดิ์เดช ศิริมงคล
นายพลศักดิ์ ฉัตรวิไลรัตน์
อาจารย์ที่ปรึกษา: ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธ์
จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
🏆 รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท
ทีม: VR Engineer
ผลิตภัณฑ์: SPRAY & OBSERVE BALLOON ช่วยในการฉีดพ่นสารเคมีและสังเกตติดตามอาการของโรคใบร่วงที่เกิดขึ้นกับต้นยางพาราที่มีอายุมากที่มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร
1. แท่งลมฉีดพ่นสารเคมี
2. บอลลูนสำรวจ
สมาชิกในทีม:
นายฮาริส หามะ
นายถนัดกิจ เพชรขวัญ
นายรพีพงศ์ เพชรขวัญ
นายพงศกร บุญมี
นายณัชพล โบพรหม
อาจารย์ที่ปรึกษา: ดร.วสันต์ จันทรโชติ
จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
🏆 รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท
ทีม: Masterfiber
ผลิตภัณฑ์: ไม้รักษ์โลกจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมเส้นใยเปลือกมะพร้าว
สมาชิกในทีม:
นายกฤษดากรณ์ หนูเชื้อ
นายปุณยวัจน์ แก้วซัง
นายสรัล ยีละ
อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.วรพงค์ บุญช่วยแทน
จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
โดยได้รับการสนับสนุนจาก การยางแห่งประเทศไทย และดำเนินการจัดโดย สถานพัฒนาการเป็นนักศึกษา (P-SEDA) อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
—————————
PSU Science Park
"Where Science and Technology Harmonize with Business"
#PSUSciencePark #p_seda
#SouthernThailandSciencePark
#อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้