โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์
(R2M
2022)
เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมและผลักดันให้มี การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่างๆ
จากมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจ โดยอาศัยกลไกและบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ของผลงานดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้
โดยจะศึกษาความเหมาะสมของเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมกับความต้องการของตลาดควบคู่กันไป
โดยจัดขึ้นในวันที่
19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ
โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยได้รับเกียรติจาก คุณสุณีย์ เลิศเพียรธรรม
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งการจัดโครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์”
นั้น เป็นการประกวดการวางแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์ในระยะต้น
ที่มุ่งเน้นแนวคิดผลิตภัณฑ์ (product ideas) ซึ่งมีความต้องการของตลาดในการใช้นวัตกรรมดังกล่าวที่ชัดเจน
โดยทีมงานของนักศึกษา ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมระหว่างนักศึกษา
และนักวิจัยแล้ว ยังส่งผลให้ได้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ผ่านการประเมินศักยภาพเชิงพาณิชย์สำหรับการดำเนินการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีหรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อไปให้แก่ผู้ประกอบการที่ให้ความสนใจในเทคโนโลยีนั้นๆ
อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและผลักดันให้ผู้วิจัยหรือนักประดิษฐ์ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาหรือถ่ายทอดไปสู่การผลิตสินค้าและบริการต่อไป
ถือเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการประกอบธุรกิจบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และนวัตกรรมให้เพิ่มมากขึ้น
โดยโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M
2022)
จัดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเน้นที่การพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์ วางแผน
การนำเสนอ และสร้างโอกาสในเชิงพาณิชย์ให้กับผลงานวิจัย ผ่านกลไกที่เกี่ยวข้อง เช่น
การประกวดแผนธุรกิจ การจับคู่ธุรกิจ หรือการบ่มเพาะธุรกิจ
โดยโครงการนี้มุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ ในการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในกระบวนการนวัตกรรมแก่นักศึกษา
นักวิจัย และผู้ประกอบการ รวมถึงสร้างช่องทางด้านการส่งเสริมนวัตกรรม เช่น
การนำผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกสู่นักลงทุนหรือผู้ประกอบการ
สนับสนุนการเกิดบริษัท startups หรือ spin-offs
จากมหาวิทยาลัย
และสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชนโดยอาศัยกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์
ซึ่งการแข่งขันเป็นทีมที่สมัครเข้าร่วมประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท หรือปริญญาเอก จำนวนทีมละ 3-5 คน
จากสถาบันในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โดยผลงานที่นำมาร่วมโครงการจะต้องเป็นผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบ
และต้องไม่เป็นผลงานที่เคยเข้าร่วมการแข่งขันโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์รอบระดับประเทศมาก่อน
โดยการแข่งขันระดับประเทศ
จะรับผิดชอบโดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(กปว.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ
โดยจะหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพในการจัดประกวดระดับประเทศในภูมิภาคต่างๆ ให้เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์แต่ละแห่ง
ส่งรายชื่อทีมพร้อมข้อมูลสมาชิกในทีมที่ผ่านการคัดเลือกหรือแข่งขันในระดับภูมิภาคมายังอุทยานวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดังต่อไปนี้
-
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้
จำนวน 5 ทีม
-
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จำนวน 6 ทีม
-
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ
จำนวน 9 ทีม
-
เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์
มจธ. จำนวน 1 ทีม
-
เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์
ม.บูรพา จำนวน 1 ทีม
รวม 22 ทีม จาก 18
มหาวิทยาลัย โดยผลการแข่งขันมีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่
ทีม Spark Tech จาก มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 20,000 บาท
พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่
ทีม Bee Plus จาก มหาวิทยาลัยพะเยา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 10,000 บาท
พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่
ทีม สิริมงคล จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รางวัลชมเชย จำนวน 2
รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่
ทีม Enigma จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ทีม Fyty จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่