📣📣อว.ม.อ. ผลักดันการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย
ร่วมจัดแสดงผลงานและกิจกรรมในงาน Healthy Living & Innovation Expo 2023👍
📌อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี จัดงาน Healthy Living & Innovation Expo 2023 ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2566 ณ Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ ม.อ. โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ จังหวัดสงขลา หรือ SCEB เพื่อเป็นเวทีนำเสนอสินค้า บริการ นวัตกรรม และความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ สร้างเครือข่ายและโอกาสทางธุรกิจด้านสุขภาพ ตลอดจนส่งเสริมต่อยอดและพัฒนางานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์
📌โดยพิธีเปิดมีขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 โดยมี รศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ กล่าวต้อนรับ รศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน คุณกนกพร ดำรงกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดไมซ์ในประเทศ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าวสนับสนุนการจัดงาน นพ.สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย ดร.ทรงสิน ธีระกุลพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ จังหวัดสงขลา คุณดารณี ทองประชุม ผู้อำนวยการศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี และผู้บริหารหน่วยงานร่วมในพิธีภายในงานมีการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “เดินหน้าขับเคลื่อนภาคใต้สู่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism)” โดย นพ.สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 และ แนะนำ “ศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน” โดย รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมทั้งมีการจัดบูธแสดงสินค้าเพื่อสุขภาพ ผลงานนวัตกรรม การเจรจาธุรกิจ การเสวนา และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย
📌นอกจากนี้ยังมีพิธีแสดงความยินดีและขอบคุณผู้ประกอบการที่ขออนุญาตใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการนำทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เกิดประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยมี รศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผศ.คำรณ พิทักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสักขีพยาน ซึ่งผลงานทรัพย์สินทางปัญญาที่อนุญาตใช้สิทธิ ประกอบด้วย 6 ผลงาน ประกอบด้วย
1. “ระบบนำส่งยาชนิดก่อแพที่มีส่วนผสมเป็นสารประกอบละลายน้ำยากในรูปแบบ โซลิดดิสเพอร์ชัน (Raft forming drug delivery stystems incorporating solid dispersion of poorly water-soluble compounds) สูตรก่อแพที่มีส่วนผสมเป็นเคอคูมินในรูปแบบโซลิดดิสเพอร์ชัน และ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเตรียมโดยใช้สูตรดังกล่าว” โดยมี บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์คอสเมติค จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับอนุญาต ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร.ฤดีกร วิวัฒนปฐพี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ประดิษฐ์หลัก
2. “กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดโปรตีนจากน้ำเลี้ยงเชื้อ Lactobacilus rhamnosus และ
Lactobacillus casei ในผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวฟันดีผสมโปรไบโอติกส์เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี ป้องกันฟันผุ” โดยมี บริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เป็นผู้รับอนุญาต ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร.รวี เถียรไพศาล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ประดิษฐ์หลัก
3. “กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดโปรตีนจากน้ำเลี้ยงเชื้อ Lactabacilus rhamnosus และ
Lactobacillus casei ในผลิตภัณฑ์กลุ่ม Skincare ที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว ต้านการอักเสบและอนุมูลอิสระ” โดยมี บริษัท พาริช สกิน จำกัด เป็นผู้รับอนุญาต ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร.รวี เถียรไพศาล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ประดิษฐ์หลัก
4. “ผลิตภัณฑ์แผ่นเข็มขนาดไมครอนแบบสลายตัวได้และกรรมวิธีผลิตผลิตภัณฑ์” โดยมี บริษัท อี ซี เน็กส์ จำกัด เป็นผู้รับอนุญาต ซึ่งมี คุณจุลินทิพย์ พุทธวงษ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ประดิษฐ์ และมี ผศ.นพ.สิทธิโชค อนันตเสรี รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสักขีพยาน
5. “ชุดทดสอบเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของใบกระท่อมและกรรมวิธีในการเตรียมชุดทดสอบ” โดยมี บริษัท มาสเตอร์ แล็บส์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้รับอนุญาต ซึ่งมี ผศ.ดร.อภิชัย พลชัย คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ เป็นผู้ประดิษฐ์หลัก และมี ผศ.ดร. กิติพล นวลทอง รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและสหกิจศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสักขีพยาน
6. “กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดขมิ้นชันที่มีสารเคอร์คูมินอยด์ในรูปแบบโซลิดดิสเพอร์สซันด้วยโพไว
นิลไพโรลิโดน เค 30 และ เรื่องกรรมวิธีการเตรียมสารสกัดแอลฟา-แมงโกสตินจากเปลือกผลมังคุด” โดยมี บริษัท ทรี ซิมเปิ้ล จำกัด เป็นผู้รับอนุญาต ซึ่งมี รศ.ดร.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ เป็นผู้ประดิษฐ์หลัก
📌นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย ด้วยการเปิดเวทีให้นักวิจัยได้ Pitching นำเสนอผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกิจกรรม Business Matching กับผู้ประกอบการภาคเอกชน โดยได้รับความสนใจจากนักวิจัยและภาคเอกชนเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก