วันที่ 27 กันยายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จัดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3
ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 198 คน
.
โดยได้รับเกียรติจาก
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์คำรณ พิทักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ
- คุณฐาปกช มีแสน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง ด้านแผนและวิชาการ กล่าวรายงาน
- คุณจิรวิทย์ มีชูภัณฑ์ ผู้อำนวยการ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคกลางและภาคตะวันออก เป็นประธานในพิธี กล่าวเปิดงาน
.
ภายในงานประกอบไปด้วย
บูธจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผลงาน
กิจกรรมแข่งขันการนำเสนอผลงาน (Pitching)
กิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Matching Business)
ซึ่งในวันนี้ได้รับเกียรติจากกรรมการทั้ง 9 ท่าน โดยแบ่งเป็น ดังนี้
ผลงานระดับ Product to Global Market (P2GM) และ Product to Market (P2M)
1. คุณวิทยากร มณีเนตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
2. คุณพัชกร ไทยนิยม ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมภายนอกองค์กร ศูนย์นวัตกรรมของกลุ่ม ซีพี ออลล์ บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน)
3. คุณนิรันดร์ บันลือรัตน์ Head of RukBaan SCG
ผลงานระดับ Idea to Prototype (I2P)
1. คุณศุภเดช อ่องสกุล รองเลขาธิการ สมาคมยางพาราไทย
2. คุณณาตยา มณฑิราช รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจลูกค้า SMEs Start up ส่วนพัฒนาธุรกิจลูกค้า SMEs Start up ธนาคารออมสิน
3. ดร.สุนันท์ ขามิ นักพัฒนานวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ผลงานระดับ Design Contest (I2D)
1. คุณอานนท์ เหลืองวนิชประภา Founder & Design Director Rubber Idea Co.,Ltd.
2. คุณกร สุริยพันธุ์ กรรมการฝ่ายบริหาร บริษัท เทพไทย
โปรดัคท์ จำกัด
3. คุณชาคริต ยิ้มใย หัวหน้างานพัฒนาโครงการ กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund)
.
จาก 29 ผลงาน ผ่านกลไกการบ่มเพาะ จนเกิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยแบ่งผลงานเป็น 4 ระดับผลงาน และมีทีมที่ได้รับรางวัล ดังนี้
ผลงานระดับ Product to Global Market (P2GM) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราที่อยู่ในตลาดเพื่อเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ
1.รางวัลชนะเลิศ 50,000 บาท
- ทีม LONGPLY ผลิตภัณฑ์ : NATURAPLAS หวายรักษ์โลก
2.รางวัลชมเชย 2 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท
- ทีม FLX Noise Barier ผลิตภัณฑ์ : Noise barrier
- ทีม UPCYDE ผลิตภัณฑ์ : วัสดุ UPCYDE® ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด
1. รางวัลชนะเลิศ 30,000 บาท
- นายจักรกฤษ กอบพันธ์ ผลิตภัณฑ์ : Flexible thermoelectric device from natural rubber
2. รางวัลชมเชย 2 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท
- นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ ผลิตภัณฑ์ : มีดกรีดยางอินทรี
- ทีม BacPro ผลิตภัณฑ์ : ProPalnt
ผลงานระดับ Idea to Prototype (I2P) การมีไอเดีย/แนวคิดธุรกิจเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพารา
1.รางวัลชมเชย 2 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท
- ทีม CHERUB ผลิตภัณฑ์ : Axial-force and Shear-force sensor from Natural Rubber
- ทีม Running ผลิตภัณฑ์ : อิฐตัวหนอนผลิตจากยางรีเคลมผสมขวดพลาสติก
2.รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 10,000 บาท
- ทีม RubberCrew ผลิตภัณฑ์ : โฟมยางพาราดูดซับน้ำมัน
3.รางวัลรางชนะเลิศอันดับ 1 15,000 บาท
- ทีม อิฐมอลโบราณ ผลิตภัณฑ์ : อิฐมอญโบราณผสมยางพารา
4. รางวัลชนะเลิศ 20,000 บาท
- ทีม Smart Para Film ผลิตภัณฑ์ : ฟิล์มยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง
ผลงานระดับ Design Contest (I2D) การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุสานยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่ม
1.รางวัลชมเชย 2 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท
- ทีม SLEEPLESS ผลิตภัณฑ์ : เก้าอี้เพื่อความผ่อนคลาย
- ทีม Hi chic ผลิตภัณฑ์ : ชุดกรวดน้ายางพาราแบบมินิมอล / Portable peaceful pour
2.รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 10,000 บาท
- คุณคุณัญญา แก้วหนู ผลิตภัณฑ์ : แผ่น Eco Sheet
3.รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 15,000 บาท
- ทีม วิสาหกิจชุมชนจักสานยางพารา ผลิตภัณฑ์ : PARA PETTO : เบาะต้านเชื้อแบคทีเรียสาหรับสัตว์เลี้ยง
4.รางวัลชนะเลิศ 20,000 บาท
- ทีม เลือดกรุ๊ปพี ผลิตภัณฑ์ : ReRublock การผลิตบล็อกประสานสาหรับงานภูมิทัศน์จากขี้แป้งยางพารา
.—————————
PSU Science Park
"Where Science and Technology Harmonize with Business"