อว. ม.อ. ดันผู้ประกอบการ คว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรม 7innovation Award 2024
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรม คว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรม 7innovation Award 2024 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการ ประชุมไบเทค บางนา ในงาน “THAILAND SYNERGY เพื่อ SMEs ไทย
โดยในครั้งนี้มีผู้ประกอบการที่อยู่ในความดูแลของอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมรับรางวัล จํานวน 6 ราย ประกอบด้วย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 สุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards บริษัท เอส.เค.พอลิเมอร์ จํากัด ด้วยผลิตภัณฑ์ NaturaPlas หวายรักษ์โลก หวายรักษ์โลก
รางวัล Inventor Awards บริษัท เซาท์เทอร์น ซีฟู้ด โปรดักส์ จํากัด ด้วย PlaNeat Modelโมเดลส่งเสริมการแปรรูปอาหารทะเลท้องถิ่น
รางวัล Inventor Awards บริษัท ไบโอแอ็กซ์เซล จํากัด ด้วยผลิตภัณฑ์ BIOAXEL เครื่องแปลงขยะ เศษอาหารและเศษวัชพืช
รางวัล Creator Awards ห้างหุ้นส่วนจํากัด ซันฟิชโปรดักท์ ด้วยผลิตภัณฑ์ ปลาแผ่นข้าวสังข์หยด
รางวัลนวัตกรรมประเภทก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้แก่
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 สุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards บริษัท พีร์ชญาลี้ จํากัด ด้วยผลิตภัณฑ์ Oz P น้ํามันหัวหอมสกัด บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ภูมิแพ้
รางวัล Creator Awards บริษัท นาโนเซรี่ จํากัด ด้วยผลิตภัณฑ์ Zeree A นวัตกรรมเยลลี่กัมมี่จุลินทรีย์ เพื่อทางเดินอาหารและสมอง
โดยรางวัล “สุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards (เซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์)” ถือได้ว่าเป็นผลงานสําคัญชิ้นแรกที่เกิดขึ้น จาก “โครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมสําหรับประเทศ” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือที่เกิดขึ้นในปี 2556 ทั้ง 6 องค์กรที่ร่วมลงนามความร่วมมือ ได้แก่ สวทน. สวทช. สนช. สอท. SET และ CPALL โดยเพิ่มเติมอีก 5 องค์กร ในปี 2557 ได้แก่ สํานักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สป.วท.), หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (TCC&BoT), สมาคมธนาคารไทย (TBA), สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), สมาคมหน่วย บ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA) รวมเป็น 11 องค์กร ที่ได้เล็งเห็นความสําคัญของการนําผลงานวิจัยที่มีอยู่ในแต่ละองค์กรและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ผู้ประกอบการ SMEs มีอยู่ มาทําการทดสอบหรือทดลองกับกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคในตลาดจริง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาต่อยอดไปสู่ผลงานนวัตกรรมที่สูงขึ้นในระดับประเทศต่อไป
อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. พวกเราพร้อมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ