📣📣การประชุมเชิงปฏิบัติการดาราศาสตร์อิสลาม
มุ่งขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชาวมุสลิมในภาคใต้ชายแดน⭐️🌙
📌การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การขับเคลื่อนงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน” หัวข้อ “แนวทางการพัฒนาและจัดการองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์อิสลาม การพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดาราศาสตร์เพื่อชาวมุสลิม” ณ ตึกพรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ. ปัตตานี โดยมีเป้าหมายเสริมสร้างความรู้และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดาราศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา
📌แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมกล่าวถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น การประชุมครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ สหกะโร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ. ปัตตานี ซึ่งได้ให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมอย่างอบอุ่น ในขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี ก็เข้าร่วมรับฟังการนำเสนออย่างใกล้ชิด
📌โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ประกอบด้วยการบรรยายในหัวข้อสำคัญ "ดาราศาสตร์อิสลามและความสำคัญที่มีต่อวิถีชีวิตชาวมุสลิม" รวมถึงแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดาราศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่
1.อาจารย์เฉลิมชนม์ วรรณทอง และทีมนักวิจัยจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุธา เกลาฉีด และทีมจากศูนย์เรียนรู้ดาราศาสตร์ ม.อ. ปัตตานี
3.รองศาสตราจารย์นิแวเต๊ะ หะยีวามิง และทีมนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
📌นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอเรื่อง "ปฏิทินดาราศาสตร์ของท่านฮัจยีสุหลง" โดยผู้แทนจากมูลนิธิฮัจยีสุหลง ถ่ายทอดองค์ความรู้ดาราศาสตร์อันทรงคุณค่าแก่ชุมชนมุสลิมในพื้นที่ รวมถึงการแนะนำ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดาราศาสตร์เพื่อชาวมุสลิม โดยกลุ่มประสานเครือข่าย อว. ในภูมิภาค (ปค.) ซึ่งมุ่งหวังสร้างความร่วมมือและความยั่งยืนในการนำเทคโนโลยีดาราศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชุมชนอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
📌ภายหลังการประชุม ผู้เข้าร่วมได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ดาราศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญในการเผยแพร่ความรู้ด้านดาราศาสตร์สู่ การประชุมครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนในภาคใต้ชายแดน และเป็นอีกก้าวสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น
⛰️ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. พวกเราพร้อมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ
#อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
#นิคมวิจัยแห่งแรกของภาคใต้
#PSUSCIENCEPARK
#scienceparkสร้างการเติบโตด้วยนวัตกรรม