คอนเทนต์

จุดเริ่มต้นในการสร้างธุรกิจนวัตกรรมของคนรุ่นใหม่: กล้า ฝัน ลงมือ และเรียนรู้จากความล้มเหลว


การสร้างมูลค่าจากข้าวพื้นถิ่น สู่การเป็นผลิตภัณฑ์สกินแคร์อินทรีย์ เรื่องราวความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนพิกุลทอง เริ่มต้นขึ้นจาก คุณมาริสา วงวิเชียรศัพท์ แห่ง วิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูป พิกุลทอง จังหวัดปัตตานี จากกลุ่มวิสาหกิจที่ดำเนินโดยการรวมกลุ่มเกษตรกรและชาวนาที่ทำการเกษตรแบบ อินทรีย์ ที่ปลูกข้าวเล็กนกปัตตานี ในตอนแรกเรายังเป็นกลุ่มวิสาหกิจที่เป็นเกษตรกรในการปลูกและผลิตข้าวเล็กนกเพื่อจำหน่าย ความพิเศษของข้าวอินทรีย์สายพันธุ์พื้นเมืองนี้คือที่ได้รับพระราชทานชื่อจากในหลวงรัชกาลที่9 จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ วิสาหกิจชุมชนพิกุลทองของเราได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการจัดการของเสีย Zero Waste มาใช้ในการดำเนินงาน โดยเริ่มต้นจากการนำเปลือกผลไม้และเศษเหลือจากการเกษตรมาแปรรูปและเริ่มมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเอานวัตกรรมมาช่วยในการแปรรูป รำข้าวเล็กนก เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยเน้นที่กลุ่มผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ข้าวเล็กนกกับคุณค่าที่ซ่อนอยู่ ข้าวเล็กนก เป็นข้าวป็นข้าวพื้นถิ่นของปัตตานี มีลักษณะเด่นคือเป็นข้าวขาว มีความแข็ง และมีสารกาบา (GABA) และสารโทโคไทรอีนอล (Tocotrienol) สูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สำคัญ รำข้าวเล็กนกยังมีการวิจัยพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินอีทั่วไปถึง 15 เท่า มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีไฟเบอร์สูง และกระบวนการปลูก ไม่ใช่ยาฆ่าแมลงทำให้เป็นผลผลิตอินทรีย์ ที่ออกสู่ตลาด วิสาหกิจของเรามองเห็นคุณค่าของข้าวเล็กนกที่เป็นมากกว่าข้าวสำหรับบริโภค แต่น่าจะสร้างคุณค่าและมูลค่าได้มากกว่า จึงเป็นจุดดเริ่มต้นในการสร้างมูลค่าของข้าวเล็กนกปัตตานี

อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. กับการช่วยแก้ไขปัญหาด้วยการนำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

ในช่วงเริ่มต้น วิสาหกิจชุมชนพิกุลทองประสบปัญหาหลายด้าน ทั้งตลาดและความรู้ในการดำเนินธุรกิจ จึงได้เข้าร่วมโครงการของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามคำแนะนำจากผู้ประกอบการรายอื่นที่เคยได้รับการสนับสนุน


• การเข้าร่วมโครงการนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะทำให้วิสาหกิจได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญในหลายด้าน เช่น

• การวางระบบบัญชีอย่างถูกต้อง

• การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม

• การอบรมความรู้ทางธุรกิจและการตลาด

• การหาช่องทางจัดจำหน่าย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น มาเลเซียและซาอุดีอาระเบีย

• การให้คำปรึกษาด้านอุตสาหกรรมฮาลาล

จากการเข้ามาของอุทยานวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ของวิสาหกิจชุมชนพิกุลทองในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รายได้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้สามารถรับซื้อวัตถุดิบจากกลุ่มวิสาหกิจและเกษตรกรได้มากขึ้นสร้างรายได้ให้กับเกษตรในพื้นที่ เกิด การขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวอินทรีย์ในพื้นที่มากขึ้น ชาวบ้านในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน ในอนาคตวิสาหกิจชุมชนพิกุลทองยังคงมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนที่จะต่อยอดไปยังผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น แฮร์โทนิค สครับจากเม็ดข้าว และผลิตภัณฑ์อาหารจากข้าวขาว เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างครบวงจรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรและชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดปัตตานีสนับสนุนผลิตภัณฑ์ไทย สร้างความยั่งยืนให้ชุมชน

ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ "Mora" มีวางจำหน่ายที่อุทยานวิทยาศาสตร์ มอ. และช่องทางออนไลน์ต่างๆ โดยเน้นผลิตภัณฑ์เซรั่มจากรำข้าวเล็กนกปัตตานี ที่ผลิตด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสูตรวีแกน และใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยบรรจุภัณฑ์ไบโอพลาสติก คุณมาริสาเชิญชวนให้ทุกคนหันมาสนับสนุนสินค้าสกินแคร์ไทยที่มีคุณภาพและนวัตกรรมในราคาที่เข้าถึงได้


ช่องทางการติดต่อ:

เฟซบุ๊ก: Mora Organic Thailand

โทรศัพท์: 093-624-9162

อยากฝากอะไรกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ฝากถึงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ว่า ควรนำตลาดนำการผลิต และทดสอบตลาดก่อนที่จะเริ่มผลิตจริง การหาที่ปรึกษาและการขอความรู้จากหน่วยงานต่างๆ เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงนวัตกรรมและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาธุรกิจ


⛰️ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. พวกเราพร้อมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ

#อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

#นิคมวิจัยแห่งแรกของภาคใต้

#PSUSCIENCEPARK

#scienceparkสร้างการเติบโตด้วยนวัตกรรม 

Share: