💡จุดเริ่มต้น...สู่การเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม
เดิมทีผมประกอบธุรกิจ ผลิต รับซื้อ และจัดจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์และสินค้าแปรรูปทางการเกษตรในประเทศและต่างประเทศ โดยกิจกรรมหลักๆ คือ ทำผลไม้ส่งออกและ สินค้าแปรรูป ซึ่งปัจจุบัน คือ น้ำยำสำเร็จรูป
ปัญหาที่เกิดขึ้นในธุรกิจสู่การ แก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรม
เดิมก่อนหน้าที่จะตัดสินใจในการพัฒนา น้ำยำสำเร็จรูปนั้น ได้มีการ OEM น้ำยำสำเร็จรูปจากจังหวัดสมุทรปราการ ขายมาเรื่อย ๆ และส่งออกไปยังต่างประเทศ แต่ในระหว่างการขาย ก็เจอปัญหามาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหา เรื่องความหอมของมะนาว เมื่อผ่านไป 4 – 5 เดือน มักจะหายไป ปัญหาที่ 2 ที่เจอ คือ เรื่องของบรรจุภัณฑ์ ที่ใช้เดิมใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็น ขวดแก้ว เมื่ออยู่ในขั้นตอนขนส่งสินค้า ในบางครั้งก็เกิดความเสียหายคือ ผลิตภัณฑ์แตกจากการขนส่ง แต่ไม่สามารถเปลี่ยนตัวบรรจุภัณฑ์ได้เพราะเรื่องของ อายุการเก็บรักษา ให้เกิน 1 ปี
🔑จากปัญหาที่มีสู่การหาตัวช่วยตัวช่วย ในการแก้ปัญหา ด้วยนวัตกรรม ทำอย่างไร ?
เมื่อมีปัญหาจากการผลิตสู่การแก้ไขปัญหา ผมจึงมองหาตัวช่วยที่มีทั้งองค์ความรู้ มีนวัตกรรม มีผู้เชี่ยวชาญ
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นกุญแจสำคัญ ในการเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา ด้วยการเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยง ความรู้ วิธีการ เทคโนโลยี กระบวนการ จากผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัย โดยคณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด โดยเริ่มแรกคือ การยืดอายุมะนาวให้ยังคงกลิ่นหอม คงคุณภาพไว้ โดยการวิเคราะห์ทดสอบจนสำเร็จ ได้น้ำยำสำเร็จรูป ที่มีอายุการเก็บรักษา 1 ปีครึ่ง และยังคงรสชาติและความหอมของมะนาวไว้ได้ ณ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการแก้ปัญหาในข้อที่ 2 คือบรรจุภัณฑ์ ที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยนักออกแบบมาช่วยในการออกแบบบรรจุภัณฑ์และ โลโก้ ของศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. และการจัดทำเครื่องหมายการค้า โดยทางศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. ช่วยในการทำเครื่องหมายการค้าให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เนื่องจากตราผลิตภัณฑ์เดิม ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์จึงไม่สามารถจดเครื่องหมายการค้าได้ ทางผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องหมายการค้าจึงให้คำแนะนำ รวมถึงช่วยในการดำเนินการทำให้การจดเครื่องหมายการค้าผ่านไปได้ด้วยดี จนกลายเป็นตราสินค้า “เอตัน” ออกสู่ท้องตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นอกจากในการช่วยหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาแก้ไขปัญหาเพื่อปิดรอยรั่วของธุรกิจแล้วนั้น อุทยานวิทยาศาสตร์ ยังนำตัวผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการ เข้าสู่โครงการต่างๆเพื่อหาทุนสนับสนุนการพัฒนาสินค้า วิเคราะห์สินค้า เพื่อช่วยผู้ประกอบการ ลดต้นทุนในเรื่องของการ วิเคราะห์ทดสอบ ซึ่งช่วยผู้ประกอบการในเรื่องค่าใช้จ่ายจากโรงการดีๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ ที่มีให้กับผู้ประกอบการ
📍วางแผนอย่างไรกับการดำเนินธุรกิจในอนาคต
ในอนาคตวางแผน สร้างผลิตภัณฑ์สินค้าอีก 1 ตัว ที่มี ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ และอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมสนับสนุน พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม
อยากจะฝากอะไรกับ ผู้ประกอบการรายอื่นๆ หรือผู้ที่อยากเริ่มต้นธุรกิจ แต่ยังขาดตัวช่วยในการทำธุรกิจ
เพียงคุณมีแนวคิดในการสร้างธุรกิจ ไม่ต้องมีผลิตภัณฑ์มาก่อน แต่มีใจที่อยากจะทำธุรกิจ แค่คุณเปิดใจเข้ามา ปรึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีหลายหน่วยงานภายในหรือเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยง ที่พร้อมจะ สนับสนุนผู้ประกอบการทุกท่าน ให้เริ่มต้นธุรกิจด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปด้วยกัน
🩵หากสนใจ ผลิตภัณฑ์ น้ำยำสำเร็จรูป ติดต่อได้ที่ บริษัท สานฟาร์มดี จำกัด 081-6088335 Line TARATHEPWIRI
Facebook : TAPTARATHEP
บทสัมภาษณ์ โดย คุณธราเทพ วิริยะสมบัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สานฟาร์มดี จำกัด
⛰️ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. พวกเราพร้อมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ
#อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
#นิคมวิจัยแห่งแรกของภาคใต้
#PSUSCIENCEPARK #STSP
#SCIENCEPARKสร้างการเติบโตด้วยนวัตกรรม