คอนเทนต์

📣📣จุดเริ่มต้น...สู่การเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม


📌เริ่มต้นจาก ในช่วงสถานการณ์การระบาดของ Covid 19 ทำให้ความต้องการใช้สเปรย์ล้างมือมีความต้องการที่สูงมากในท้องตลาด จึงทำให้เกิดความคิดที่จะหาสารสกัดเพื่อนำมาทำเป็นสเปรย์ล้างมือจากธรรมชาติ จึงได้เชื่อมโยงกับทาง ศ.ดร. ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำงานวิจัยจากสารสกัดแอลฟ่า-แมงโกสตินซึ่งเป็นสารสกัดจากเปลือกมังคุด และสารสกัดไรนาแคนตินซีเป็นสารสกัดจากใบทองพันธุ์ช่างเป็นสารสกัดสำคัญในผลิตภัณฑ์สเปรย์ล้างมือในการออกวางจำหน่ายสู่ท้องตลาด จึงเป็นจุดเริ่มต้นการเป็นบริษัทที่นำสมุนไพรมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้า แต่เมื่อสถานการณ์ Covid 19 เริ่มคลี่คลายความต้องการใช้ สเปรย์ล้างมือ ก็ลดลงด้วย จึงเริ่มหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะผลิต เพื่อขาย และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในตลาดผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและนำสมุนไพรไปช่วยแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง

นำไปสู่การคิดค้นผลิตภัณฑ์ จากผลงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง ช่วยแก้ปัญหา อาการเมารถ ด้วยสมุนไพร


📌จากการศึกษาตลาด พบว่า อาการเมารถ เมาเรือ หรืออาการคลื่นไส้อาเจียนที่มีสาเหตุมาจากการเดินทางเกิดขึ้นประมาณ 20-30% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งมองเห็นว่าเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก จึงนำผลงานวิจัยมาต่อยอดและพัฒนาจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จินดี้ ลูกอมแก้เมารถเมาเรือ ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งในขั้นตอนของการ วิจัยและพัฒนา ได้อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาช่วยดูในส่วนของการวิจัยพัฒนา จุดเด่นของผลิตภัณฑ์จินดี้ ที่แตกต่างจากยาแก้เมารถเมาเรือในท้องตลาดคือ ไม่ง่วงนอน หลายๆคนมักจะคุ้นชินกับยาแก้เมารถเมาเรือที่อยู่ในรูปแบบเม็ดกลมสีเหลืองกันอยู่แล้ว แต่เมื่อรับประทานเข้าไป สิ่งที่ตามมามักจะเป็นอาการง่วงนอนที่อาจจะทำให้การไปเที่ยวของเราไม่สนุกสนานอีกต่อไป จินดี้ จึงตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้งานในเรื่องของการแก้อาการเมารถเมาเรือ และยังทำให้ตัวผู้ใช้งานไม่เกิดการง่วงนอน ทำให้การเดินทางของคุณสนุกสนานมากยิ่งขึ้น

ปัญหาในการเริ่มต้น ธุรกิจ มีอะไรบ้าง

มีในเรื่องของเงินทุนที่ใช้ในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เนื่องจากเรายังเป็นนักศึกษายังไม่มีเงินที่จะนำมาลงทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มากพอ จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะธุรกิจกับทางศูนย์บ่มเพาะและได้เงินทุนมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นทางหน่วยงานมองเห็นว่าผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจจึงช่วยในการเชื่อมโยงและเป็นที่ปรึกษาในการขอเงินสนับสนุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่เชิงพาณิชย์ จนเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์จินดี้ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ณ ปัจจุบัน


📌วางแผนดำเนินธุรกิจอย่างไรในอนาคต

ในอนาคตหากความต้องการของผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น จะมีการสร้างโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐานต่อไป เนื่องจากในปัจจุบันยังใช้เป็น การจ้างผลิต OEM จากโรงงานที่ได้มาตรฐาน


📌อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนผู้ประกอบการด้านใดบ้าง

อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. โดยศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ เข้ามาสนับสนุนในเรื่องของการ ทำแนวคิดเริ่มต้น ให้เกิดขึ้นเป็นผลงานต้นแบบ และ ประสานบริการอื่นๆภายใต้อุทยานวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น นักออกแบบจากศูนย์นวัตกรรมการออกแบบช่วยในการออกแบบบรรจุภัณฑ์และ โลโก้ ร่วมถึงการเชื่อมโยงกับศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา ในการขอใช้สิทธิผลงานวิจัย เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาออกมาเป็นตัวผลิตภัณฑ์ และการจัดทำเครื่องหมายการค้า เพื่อให้ตัวผลิตภัณฑ์ มีความสวยงาม น่าสนใจ มีเครื่องหมายการค้าที่ได้มาตรฐาน ตามสากล

อยากจะบอกอะไรกับ ผู้ที่กำลังลังเลในการเริ่มต้นธุรกิจ ?

นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่อยากเริ่มต้นธุรกิจ หากมีไอเดียดีๆ อุทยานวิทยาศาสตร์ม.อ. สามารถเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงบริการที่อำนวยความสะดวกในการพัฒนาธุรกิจ สร้างสรรค์ธุรกิจด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมถึงการหาแหล่งทุนสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจ หากสนใจ พัฒนาธุรกิจ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


บทสัมภาษณ์ : โดยคุณกุลธิดา เกตุแก้ว กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนเอ็นเฮอร์บานซ์ จำกัด


⛰️ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. พวกเราพร้อมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ

#อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

#นิคมวิจัยแห่งแรกของภาคใต้

#PSUSCIENCEPARK #STSP

#SCIENCEPARKสร้างการเติบโตด้วยนวัตกรรม

Share: